ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' ดั้ง ๑ '

    ดั้ง ๑  หมายถึง น. เครื่องถือสําหรับปิดป้องศัสตราวุธ รูปคล้ายกาบกล้วย, โบราณใช้ว่า ด้าง ก็มี; เรียกเสาเรือนเครื่องสับที่ตั้งอยู่กึ่งกลางบนหลังรอดขึ้นไปรับอกไก่ว่า เสาดั้ง, เรียกเสาที่ตั้งบนขื่อสําหรับรับอกไก่ว่าดั้งแขวน; เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค จัดเป็น ๒ สายขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งไชยและเรือพระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้ ว่า เรือดั้ง; ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ป้องกันและ, ล้อมทัพช้างกัน ก็เรียก. ก. ป้องกัน.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • ดั้ง ๒

    น. สันจมูก, มักพูดว่า ดั้งจมูก, ใช้ว่า ดัง ก็มี.

  • ดั้งเดิม

    ว. เก่าก่อน, เก่าแก่, เดิมที.

  • ดัชนี ๑

    [ดัดชะนี] น. นิ้วชี้, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระดัชนี, ดรรชนี ก็ใช้. (ป. ตชฺชนี;ส. ตรฺชนี).

  • ดัชนี ๒

    [ดัดชะนี] (คณิต) น. จำนวนที่เขียนไว้บนมุมขวาของอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ฐานเพื่อแสดงการยกกำลังของฐานนั้น เช่น ๓๒ ๒ เป็นดัชนีของ ๓; ตัวเลขอัตราส่วนซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาหนึ่ง เช่น ดัชนีค่าครองชีพ; ดรรชนี ก็ใช้. (อ. index number).

  • ดัชนีหักเห

    (แสง) น. ดัชนีหักเหระหว่างตัวกลางคู่หนึ่งที่แสงผ่าน คือ อัตราส่วนระหว่างไซน์ของมุมตกกระทบของแสงในตัวกลางหนึ่งต่อไซน์ของมุมหักเหของแสงในอีกตัวกลางหนึ่ง, ดรรชนีหักเห ก็ใช้.(อ. refractive index).

  • ดัชนี ๓

    น. บัญชีคำเรียงตามลำดับอักษรที่พิมพ์ไว้ส่วนท้ายของหนังสือเล่มรวบรวมคำสำคัญ ๆ ซึ่งมีกล่าวถึงในหนังสือเล่มนั้น โดยบอกเลขหน้าที่มีคำนั้น ๆ ปรากฏอยู่เพื่อสะดวกแก่การค้น, ดรรชนี ก็ใช้.

  • ดัด ๑

    ก. ทําให้คดหรือตรงตามประสงค์ เช่น ดัดไม้ ดัดนิสัย; ทําให้เที่ยงตรงเช่น พระดัดคดีดล โดยเยี่ยง ยุกดิ์นา. (ตะเลงพ่าย); ปลุก เช่น เคยดัดฤดีตาตื่นตรับ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). ว. ที่ทําให้คดหรือตรงตามประสงค์ เช่น ไม้ดัด ตะโกดัด.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒